การเขียนโปรแกรมภาษาซีเบื้องต้น

   ภาษาซี (C Language) เป็นภาษาหนึ่งสำหรับเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์   พัฒนาขึ้นโดยนายเดนนิส  ริทชี่ (Dennis Ritche)  ในปี ค.ศ. 1972  เพื่อสร้างระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (Unix Operating System

ทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ Turbo  c/c++ Version 3.0
                Turbo  c/c++ Version 3.0 เป็นโปรแกรมเขียนภาษา C  โดยบอร์แลนด์  ซอฟต์แวร์  คอร์ปอเรชั่น (Borland Software Corporation)  ซึ่งเพรียบพร้อมไปด้วยเครื่องมือต่าง ๆ มากมายอาทิเช่น โปรแกรมเรียบเรียงข้อความ  และโปรแกรมตรวจสอบและแปลคำสั่ง

รายละเอียดเมนูภาษาซี

ภาษาซี

    เมนูหลัก (Main Menu) ประกอบด้วย File Edit Search Run Compile Debug Project Option Window Help
 
File เก็บรวมรวมคำสั่งเกี่ยวกับการเปิด-ปิดไฟล์ การบันทึกไฟล์ การออกจากโปรแกรม  
Edit การแก้ไขโปรแกรม การสำเนาหรือการย้ายข้อความที่ปรากฏบนเอดิเตอร์ 
Search ค้นหาคำหรือข้อความที่เขียนในโปรแกรม ตลอดจนการแทนที่คำ  
Run รันโปรแกรมที่เขียนด้วยคำสั่งแบบต่าง ๆ  
Compile แปลข้อมูลของโปรแกรมที่เป็น Source file ให้เป็น Object File  
Debug ตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม 
Project ใช้ในการระบุไฟล์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องนำมาใช้ในตัวโปรแกรมและ Project ที่ทำงานอยู่ 
Option กำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ของคอมไพเลอร์เช้น Directories Compiler เป็นต้น  
Window จัดการเกี่ยวกับหน้าต่างที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม 
Help ขอความช่วยเหลือหรือรายละเอียดเกี่ยวกับโปรแกรมในลักษณะต่าง ๆ 

ตัวแปรในภาษาซี

     ตัวแปร (Variable) คือ การจองพื้นที่ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์สำหรับเก็บข้อมูลที่ต้องใช้ในการทำงานของโปรแกรม  โดยมีการตั้งชื่อเรียกหน่วยความจำในตำแหน่งนั้นด้วย  เพื่อความสะดวกในการเรียกใช้ข้อมูล  ถ้าจะใช้ข้อมูลใดก็ให้เรียกผ่านชื่อของตัวแปรที่เก็บเอาไว้

ชนิดของข้อมูล
       ภาษาซีเป็นอีกภาษาหนึ่งที่มีชนิดของข้อมูลให้ใช้งานหลายอย่างด้วยกัน  ซึ่งชนิดของข้อมูลแต่ละอย่างมีขนาดเนื้อที่ที่ใช้ในหน่วยความจำที่แตกต่างกัน  และเนื่องจากการที่มีขนาดที่แตกต่างกันไป  ดังนั้นในการเลือกใช้งานประเภทข้อมูลก็ควรจะคำนึงถึงความจำเป็นในการใช้งานด้วย  สำหรับประเภทของข้อมูลมีดังนี้คือ

1.  ข้อมูลชนิดตัวอักษร (Character) คือข้อมูลที่เป็นรหัสแทนตัวอักษรหรือค่าจำนวนเต็มได้แก่ ตัวอักษร ตัวเลข และกลุ่มตัวอักขระพิเศษใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูล 1 ไบต์
2. ข้อมูลชนิดจำนวนเต็ม (Integer)  คือข้อมูลที่เป็นเลขจำนวนเต็ม  ได้แก่ จำนวนเต็มบวก จำนวนเต็มลบ ศูนย์ ใช้พื้นที่ในการเก็บ 2 ไบต์
3. ข้อมูลชนิดจำนวนเต็มที่มีขนาด 2 เท่า (Long Integer) คือข้อมูลที่มีเลขเป็นจำนวนเต็ม  ใช้พื้นที่  4 ไบต์
4. ข้อมูลชนิดเลขทศนิยม (Float) คือข้อมูลที่เป็นเลขทศนิยม ขนาด 4 ไบต์
5. ข้อมูลชนิดเลขทศนิยมอย่างละเอียด (Double) คือข้อมูลที่เป็นเลขทศนิยม ใช้พื้นที่ในการเก็บ 8 ไบต์

 

ชนิด
ขนาดความกว้าง
ช่วงของค่า
การใช้งาน
Char
8 บิต
ASCII character (-128 ถึง 127) เก็บข้อมูลชนิดอักขระ
Unsignedchar
8 บิต
0-255 เก็บข้อมูลอักขระแบบไม่คิดเครื่องหมาย
Int
16 บิต
-32768 ถึง 32767 เก็บข้อมูลชนิดจำนวนเต็ม
long
32 บิต
-2147483648 ถึง 2147483649 เก็บข้อมูลชนิดจำนวนเต็มแบบยาว
Float
32 บิต

3.4E-38 ถึง 3.4E+38 หรือ ทศนิยม 6

เก็บข้อมูลชนิดเลขทศนิยม
Double
64 บิต
1.7E-308 ถึง 1.7E+308 หรือ ทศนิยม 12 เก็บข้อมูลชนิดเลขทศนิยม
Unsigned int
16 บิต
0 ถึง 65535 เก็บข้อมูลชนิดจำนวนเต็ม ไม่คิดเครื่องหมาย
Unsigned long
32 บิต
0 ถึง 4294967296 เก็บข้อมูลชนิดจำนวนเต็มแบบยาว ไม่คิดเครื่องหมาย

 

รูปแบบในการประกาศตัวแปรในภาษา C

           การสร้าวตัวแปรขึ้นมาใช้งานจะเรียกว่า  การประกาศตัวแปร (Variable Declaration) โดยเขียนคำสั่งให้ถูกต้องตามแบบการประกาศตัวแปร  แสดงดังนี้

type name;

type :  ชนิดของตัวแปร
name : ชื่อของตัวแปร  ซึ่งต้องตั้งให้ถูกต้องตามหลักของภาษา C

การเขียนคำสั่งเพื่อประกาศตัวแปร

          ส่วนใหญ่แล้วจะเขียนไว้ในส่วนหัวของโปรแกรมก่อนฟังก์ชัน main ซึ่งการเขียนไว้ในตำแหน่งดังกล่าว  จะทำให้ตัวแปรเหล่านั้นสามารถเรียกใช้จากที่ใดก็ได้ในโปรแกรม  ดังตัวอย่าง

#include <stdio.h>    
int num;  สร้างตัวแปรชื่อ num เพื่อเก็บข้อมูลชนิดจำนวนเต็ม  
float y;  สร้างตัวแปรชื่อ y เพื่อเก็บข้อมูลชนิดเลขทศนิยม 
char n;  สร้างตัวแปรชื่อ n เพื่อเก็บข้อมูลชนิดตัวอักขระ 
void main()    
{   
     printf(“Enter number : “)    
     scanf(“%d”,&num);   
     printf(“Enter name : “);    
     scanf(“%f”,&n);   
     printf(“Thank you”);   
}  

หลักการตั้งชื่อตัวแปร

     ในการประกาศสร้างตัวแปรต้องมีการกำหนดชื่อ ซึ่งชื่อนั้นไม่ใช่ว่าจะตั้งให้สื่อความหมายถึงข้อมูลที่เก็บอย่างเดียว  โดยไม่คำนึงถึงอย่างอื่น   เนื่องจากภาษา C มีข้อกำหนดในการตั้งชื่อตัวแปรเอาไว้  แล้วถ้าตั้งชื่อผิดหลักการเหล่านี้  โปรแกรมจะไม่สามารถทำงานได้  หลักการตั้งชื่อตัวแปรในภาษา C แสดงไว้ดังนี้

1. ต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร A-Z หรือ a-z หรือเครื่องหมาย _(Underscore) เท่านั้น  
2. ภายในชื่อตัวแปรสามารถใช้ตัวอักษร A-Z หรือ a-z หรือตัวเลข0-9 หรือเครื่องหมาย _ 
3. ภายในชื่อห้ามเว้นชื่องว่าง หรือใช้สัญลักษณ์นอกเหนือจากข้อ 2  
4. ตัวอักษรเลขหรือใหญ่มีความหมายแตกต่างกัน 
5. ห้ามตั้งชื่อซ้ำกับคำสงวน (Reserved Word) ดังนี้ 

 

auto
default
float
register
struct
volatile
break
do
far
return
switch
while
case
double
goto
short
typedef
char
else
if
signed
union
const
enum
int
sizeof
unsigned
continue
extern
long
static
void
 
 
 

 

ตัวอย่างการตั้งชื่อตัวแปรในภาษา C ทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้องตามหลักการ  แสดงดังนี้

 

bath_room ถูกต้อง
n-sync ผิดหลักการ เนื่องจากมีเครื่องหมาย – ปรากฎในชื่อ
108dots ผิดหลักการ เนื่องจากขึ้นต้นด้วยตัวเลข
Year# ผิดหลักการ เนื่องจากมีเครื่องหมาย # อยู่ในชื่อ
_good ถูกต้อง
goto ผิดหลักการ  เนื่องจากเป็นคำสงวน
work ถูกต้อง
break ผิดหลักการ  เนื่องจากเป็นคำสงวน

 

 

ตัวแปรสำหรับข้อความ

     ในภาษา C ไม่มีการกำหนดชนิดของตัวแปรสำหรับข้อความโดยตรง  แต่จะใช้การกำหนดชนิดของตัวแปรอักขระ (char) ร่วมกับการกำหนดขนาดแทน  และจะเรียกตัวแปรสำหรับเก้บข้อความว่า  ตัวแปรสตริง (string) รูปแบบการประกาศตัวแปรสตริงแสดงได้ดังนี้

char name[n] = “str”;

name ชื่อของตัวแปร 
n ขนาดของข้อความ หรือจำนวนอักขระในข้อความ  
str ข้อความเริ่มต้นที่จะกำหนดให้กับตัวแปรซึ่งต้องเขียนไว้ภายในเครื่องหมาย ”  ” 

ตัวอย่างการประกาศตัวแปรสำหรับเก็บข้อความ  แสดงได้ดังนี้

char name[5] = “kwan” ;  สร้างตัวแปร name สำหรับเก็บ ข้อความ kwan ซึ่งมี  4 ตัวอักษร ดังนั้น name ต้องมีขนาด 5  
char year[5] = “2549”;  สร้างตัวแปร year สำหรับเก็บ ข้อความ 2549 ซึ่งมี  4 ตัวอักษร ดังนั้น year ต้องมีขนาด 5  
char product_id[4] = “A01”; สร้างตัวแปร product_id สำหรับเก็บ ข้อความ A01 ซึ่งมี  3 ตัวอักษร ดังนั้น product_id ต้องมีขนาด 4  
 

เครื่องหมายและการดำเนินการในภาษา C

     การดำเนินการในการเขียนโปรแกรมภาษา C มีอยู่ 3 ประเภท  คือ  การคำนวณทางคณิตศาสตร์  การดำเนินการทางตรรกศาสตร์ และการเปรียบเทียบซึ่งการดำเนินการแต่ละประเภทจะมีเครื่องหมายที่ต้องใช้เพื่อเขียนคำสั่งสำหรับการดำเนินการประเภทนั้น ๆ ดังรายละเอียด

เครื่องหมายการคำนวณทางคณิตศาสตร์

     เครื่องหมายที่ใช้สำหรับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ใช้ภาษา C  สรุปดังนี้

 

เครื่องหมาย
ความหมาย
ตัวอย่าง
+
บวก
3+2  การบวกเลข 3 บวกกับ 2 ได้ผลลัพธ์คือ 5
ลบ
3 – 2 การลบเลข 3 ลบกับ 2 ได้ผลลัพธ์คือ 1
*
คูณ
2*3   การคูณเลข 3 บวกกับ 2 ได้ผลลัพธ์คือ 6
/
หาร
15/2  การหาร 15 หารกับ 2 ได้ผลลัพธ์คือ 7
%
หารเอาเศษ
15%2การหารเอาเศษ 15 หารกับ 2 ได้ผลลัพธ์คือ 1
++

เพิ่มค่าขึ้น 1 โดย 
a++ จะนำค่าของ a ไปใช้ก่อนแล้วจึงเพิ่มค่าของ a ขึ้น 1
 

++a จะเพิ่มค่าของ a ขึ้น 1 ก่อนแล้วจึงนำค่าของ a ไปใช้
 

b=a++;
จะมีความหมายเทียบเท่ากับ 2 บรรทัดต่อไปนี้
b=a;
a=a+1;

b=++a;
จะมีความหมายเทียบเท่ากับ 2 บรรทัดต่อไปนี้
a=a+1;
b=a;

ลดค่า 1 โดย
a– จะนำค่าของ a ไปใช้ก่อน แล้วจึงลดค่าของ a ลง 1

–a จะลดค่าของ a ลง 1 ก่อน แล้วจึงนำค่าของ a ไปใช้

b=a–;
จะมีความหมายเทียบเท่ากับ 2 บรรทัดต่อไปนี้
ิb=a;
a=a-1;

b=–a;
จะมีความหมายเทียบเท่ากับ 2 บรรทัดต่อไปนี้
a=a-1;
b=a;

 

ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ

     ใช้เปรียบเทียบค่า 2 ค่าเพื่อแสดงการเลือก ซึ่งโปรแกรมโดยทั่วไปใช้ในการทดสอบเงื่อนไขตามที่กำหนด
การเปรียบเทียบโดยการเท่ากันของ 2 ค่าจะใช้เครื่องหมาย ==

 

เครื่องหมาย
ความหมาย
ตัวอย่าง
>
มากกว่า
a > b   a มากกว่า b
>==
มากกว่าหรือเท่ากับ
a >= b a มากกว่าหรือเท่ากับ b
<
น้อยกว่า
a < b   a น้อยกว่า b
<==
น้อยกว่าหรือเท่ากับ
a <= b a น้อยกว่าหรือเท่ากับ b
==
เท่ากับ
a == b a เท่ากับ b
!=
ไม่เท่ากับ
a != b  a ไม่เท่ากับ b

 

ความหมาย 
การดำเนินการเปรียบเทียบค่าทางตรรกะ( และ หรือ ไม่)

 

เครื่องหมาย
ความหมาย
ตัวอย่าง
&&
และ
x < 60 && x > 50   กำหนดให้ x มีค่าในช่วง 50 ถึง 60
||
หรือ
x == 10 || x == 15     กำหนดให้ x มีค่าเท่ากับตัวเลข 2 ค่า คือ 10 หรือ 15
!
ไม่
x = 10  !x  กำหนดให้ x ไม่เท่ากับ 10

 

การเขียนนิพจน์ในภาษา C

     นิพจน์ในภาษา C ก็คือ การนำข้อมูลและตัวแปรในภาษา C มาดำเนินการด้วยเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์  ตรรกศาสตร์  หรือเครื่องหมายเปรียบเทียบในภาษา C เป็นตัวสั่งงาน  ดังตัวอย่าง

 

ภาษาซี
 

ลำดับความสำคัญของเครื่องหมาย

          ส่วนใหญ่นิพจน์ที่เขียนขึ้นในโปรแกรมมักจะซับซ้อน  มีการดำเนินการหลายอย่างปะปนอยู่ภายในนิพจน์เดียวกัน 

 

ลำดับความสำคัญ
ลำดับความสำคัญจากสูงไปต่ำ
1
( )
2
!,++,- –
3
*,/,%
4
+,-
5
<,<=,>,>=
6
= =,!=
7
&&
8
||
9
*=,/=,%=,+=,-=

 

 

ตัวอย่างการทำงานของโอเปอเรเตอร์

จงหาค่าของนิพจน์  8 + 7 * 6

วิธีทำ
1.  ให้สังเกตที่ตัวโอเปอเรเตอร์ก่อนเสมอว่ามีโอเปอเรเตอร์อะไรบ้าง  ในที่นี้มี + และ *
2.  ทำการไล่ลำดับความสำคัญของโอเปอเรเตอร์ทั้งหมดเปรียบเทียบกัน จากตัวที่มีลำดับความสำคัญสูงสุดไปยังตัวที่มีลำดับสำคับต่ำสุด

 

ลำดับความสำคัญจากสูงไปต่ำ
โอเปอเรเตอร์
 
 
*
+

3.  จากข้อ  2  จะได้ลำดับการทำงานเป็นดังนี้
     ขั้นที่  1  7 * 6 = 42
ื     ขั้นที่  2  8 + ค่าที่ได้จากขั้นที่  1
                  = 8 + 42

                          = 50
ดังนั้น          8 + 7 * 6 = 50

 

จงหานิพจน์ต่อไปนี้

 

x*y – 20%z
1)
x * y
2)
20%z
3)
1) – 2)
(a – b)*10/c && d + 5
1)
a – b
2)
1)*10
3)
2)/c
4)
d+5
5)
3) && 4)
 
(a + b) * 4 = = c%d(e+10)
1)
a + b
2)
e + 10
3)
1) * 4
4)
d * 2)
5)
c %4)
6)
3) = = 5)

 

การแสดงผลและการรับข้อมูล

แสดงผลออกทางหน้าจอ

          การทำงานพื้นฐานที่สึดหรือเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานของทุกโปรแกรมคือ  การแสดงผลข้อมูลออกทางจอภาพ  โดยในภาษา C  นั้น  การแสดงผลข้อมูลออกทางจอสามารถทำได้ดังนี้

คำสั่ง printf

          คำสั่ง printf  ถือได้ว่าเป็นคำสั่งพื้นฐานที่สุดในการแสดงผลข้อมูลทุกชนิดออกทางหน้าจอไม่ว่าจะเป็นจำนวนเต็ม int ทศนิยม float ข้อความ string  หรืออักขระ  นอกจากนี้คำสั่งยังมีความยืดหยุ่นสูง  โดยเราสามารถกำหนดหรือจัดรูปแบบการแสดงผลให้มีระเบียบหรือเหมาะสมตามความต้องการได้อีกด้วย 

รูปแบบคำสั่ง prinft

printf (“format”,variable);

 

format
     ข้อมูลที่ต้องการแสดงผลออกทางหน้าจอ  โดยข้อมูลนี้ต้องเขียนไว้ในเครื่องหมาย ”  ”  ข้อมูลที่สามารถแสดงผลได้มีอยู่ 2 ประเภท คือ  ข้อความธรรมดา  และค่าที่เก็บไว้ในตัวแปร  ซึ่งถ้าเป็นค่าที่เก็บไว้ในตัวแปรต้องใส่รหัสควบคุมรูปแบบให้ตรงกับชนิดของข้อมูลที่เก็บไว้ในตัวแปรนั้นด้วย
variable
     ตัวแปรหรือนิพจน์ที่ต้องการนำค่าไปแสดงผลให้ตรงกับรหัสควบคุมรูปแบบที่กำหนดไว้

 

 

รหัสควบคุมรูปแบบการแสดงผลค่าของตัวแปรออกทางหน้าจอ  แสดงได้ดังนี้

 

รหัสควบคุมรูปแบบ
การนำไปใช้งาน
%d
แสดงผลค่าของตัวแปรชนิดจำนวนเต็ม
%u
แสดงผลค่าของตัวแปรชนิดจำนวนเต็มบวก
%f
แสดงผลค่าของตัวแปรชนิดจำนวนทศนิยม
%c
แสดงผลอักขระ 1 ตัว
%s
แสดงผลข้อความ หรืออักขระมากกว่า 1 ตัว

 

 

ตัวอย่างการใช้คำสั่ง printf  แสดงผลข้อความธรรมดาออกทางหน้าจอ ดังนี้

 

printf(“Hello Program C”); แสดงข้อความ Hello Program C ออกทางขอภาพ
printf(“Lampang kunlayanee school”); แสดงข้อความ Lampang kunlayanee school ออกทางจอภาพ
printf(“Lampang Thailand”); แสดงข้อความ Lampang Thailand  ออกทางจอภาพ

#include <stdio.h>
#include <conio.h>
void main()
{
   clrscr();
   prinft(‘Lampang Kunlayanee School “);
   printf(“Program C “);
getch();
}

ผลลัพธ์โปรแกรม

Lampang Kunlayanee School
Program C
 

 

          ส่วนตัวอย่างการใช้คำสั่ง  printf  แสดงผลจากค่าของตัวแปรหรือนิพจน์ การคำนวณออกทางหน้าจอ  แสดงได้ดังนี้  โดยกำหนดให้

ตัวแปร  x  เก็บจำนวนเต็ม  45

printf(“total value = %d”,x);   แสดงข้อความ total value = 45 ออกทางจอภาพ

 

แสดงผลให้เป็นระเบียบด้วยอักขระควบคุมการแสดงผล

          นอกจากนี้เรายังสามารถจัดรูปแบบการแสดงผลให้ดูเป็นระเบียบมากขึ้น  อย่างเช่นขึ้นบรรทัดใหม่  หลังแสดงข้อความ  หรือเว้นระยะแท็บระหว่างข้อความ  โดยใช้อักขระควบคุมการแสดงผลร่วมกับคำสั่ง printf

 

อักขระควบคุมการแสดงผล
ความหมาย
 
ขึ้นบรรทัดใหม่
 
เว้นช่องว่างเป็นระยะ 1 แท็บ (6 ตัวอักษร)
 
กำหนดให้เคอร์เซอร์ไปอยู่ต้นบรรทัด
 
เว้นช่องว่างเป็นระยะ 1 หน้าจอ

ลบอักขระสุดท้ายออก 1 ตัว

 

          การนำอักขระควบคุมการแสดงผลมาใช้  เราต้องเขียนอักขระควบคุมการแสดงผลไว้ภายในเครื่องหมาย ”  ”  ดังตัวอย่าง

 

printf(“Hello … “); แสดงข้อความ Hello …  แล้วขึ้นบรรทัดใหม่
printf(“Hello… Lampang “); แสดงข้อความ Hello …แล้วขึ้นบรรทัดใหม่พร้อมกับแสดงข้อความLampang จากนั้นขึ้นบรรทัดใหม่อีกครั้ง
printf(“Num1 = %d Num2 = %f “,x,z); แสดงข้อความ Num1 = 45  ตามด้วยการเว้นช่องว่าง 1 แท็บแล้วต่อด้วยข้อความ Num2 = 20.153

 

 

คำสั่งรับข้อมูลจากคีย์บอร์ด

          การทำงานของโปรแกรมส่วนใหญ่มักจะเป้นการเชื่อมโยงกับผู้ใช้แบบ  2  ทิศทาง  คือ  ทั้งภาคของการแสดงผลการทำงานออกทางหน้าจอ  และภาคของการรับข้อมูลจากผู้ใช้เข้ามาทางคีย์บอร์ด  เพื่อร่วมในการประมวลผลของโปรแกรม 

คำสั่ง  scanf()

          ในภาษา C  การรับข้อมูลจากคีย์บอร์ดสามารถทำได้โดยการเรียกใช้ฟังก์ชัน  scanf()  ซึ่งเป็นฟังก์ชันมาตรฐานสำหรับรับข้อมูลจากคีย์บอร์ด  โดยสามารถรับข้อมูลได้ทุกประเภท  ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเต็ม  ทศนิยม  อักขระ หรือข้อความ 

รูปแบบคำสั่ง  scanf()

scanf(“format”,&variable);

 

format
     การใช้รหัสควบคุมรูปแบบ  เพื่อกำหนดชนิดของข้อมูลที่จะรับเข้ามาจากคีย์บอร์ด โดยรหัสควบคุมรูปแบบใช้ชุดเดียวกับคำสั่ง printf()
variable
     ตัวแปรที่จะใช้เก็บค่าข้อมูลที่รับเข้ามาจากคีย์บอร์ด  โดยชนิดของตัวแปรจะต้องตรงกับรหัสควบคุมรูปแบบที่กำหนดไว้  นอกจากนี้หน้าชื่อของตัวแปรจะต้องนำหน้าด้วยเครื่องหมาย  &  ยกเว้นตัวแปรสตริง  สำหรับเก็บข้อความเท่านั้นที่ไม่ต้องนำหน้าด้วยเครื่องหมาย &

 

 

ตัวอย่างการใช้งานคำสั่ง  scanf()  เพื่อรับข้อมูลจากคีย์บอร์ด

 

int speed; สร้างตัวแปรชนิด int สำหรับเก็บค่าตัวเลขจำนวนเต็ม
printf(“Enter wind speef : “); แสดงข้อความให้กรอกค่าความเร็วลมเป็นจำนวนเต็ม
scanf(“%d”,&speed); รับค่าความเร็วลมเข้ามาเก็บไว้ในตัวแปร speed

char answer; สร้างตัวแปรชนิด  char สำหรับเก็บอักขระ
printf(“Enter Figure (Y : N)  : “) แสดงข้อความให้ป้อนอักขระ Y  หรือ N
scanf(“%c”,&answer รับอักขระเข้ามาเก็บไว้ในตัวแปร  answer

char name[10]; สร้างตัวแปรสตริงสำหรับเก็บข้อความ
printf(“Enter your name = “); แสดงข้อความให้ป้อนชื่อ
scanf(“%s”,name รับชื่อเข้ามาเก็บไว้ในตัวแปร name สังเกตจะไม่ใส่เครื่องหมาย & ตัวแปรชนิดข้อความ

#include <stdio.h>
#include <conio.h>
void main()
{
  clrscr();
  int x,y,sum;
  printf(“Enter The Length is : “);
  scanf (“%d”,&x);
  printf(“Enter The Width is : “);
  scanf (“%d”,&y);
  sum = x*y;
  printf(“The area is :%d”,sum);
getch();
}

ผลลัพธ์โปรแกรม

Enter The Length is   : 15 
Enter The Width is     : 5 
The area is             : 75

 

การเขียนโปรแกรมคำนวณ
          เราสามารถคำนวณหาผลลัพทธ์ของนิพจน์คณิตศาสตร์ด้วยการเขียนโปรแกรมภาษาซี   ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นการแสดงลำดับการประมวลผลทางคณิตศาสตร์ของนิพจน์ต่าง ๆ

 

#include <stdio.h>
#include <conio.h>
void main()
{
  clrscr();
  int a,b,c,d;
  a=(3+4)*5;
  b=3+4*5;
  c=(2+7)*4%10;
  d=2+7*4%10; 
  e=10+2*8/4*3-5;
  printf(“(3+4)*5 =%d “,a);
  printf(“3+4*5 =%d “,b);
  printf(“(2+7)*4%10 =%d “,c);
  printf(“(2+7)*4%10 =%d “,d);
  printf(“10+2*8/4*3-5 =%d “,e);
  getch();
}

ผลลัพธ์โปรแกรม

  (3+4)*5=35
  3+4*5=23
  (2+7)*4%10=6
  2+7*4%10=10
  10+2*8/4*3-5=17

 

ตัวอย่างโปรแกรมคำนวณหาผลลัพธ์จากการหาร

 

#include <stdio.h>
#include <conio.h>
void main()
{
clrscr();
int a,b;
float c;
a=20;
b=6; 
c=6;
printf(“20/6 =%d “,a/b);      /*หารเอาเฉพาะส่วน*/
printf(“20%6 =%d “,a%b); /*หารเอาเฉพาะเศษ*/
printf(“20/6 =%f “,a/c);       /*หารเอาทั้งเศษและส่วน*/ 
printf(“20/6 =%.2f “,a/c);   /*แสดงผลทศนิยม  2 ตำแหน่ง*/
  getch();
}

ผลลัพธ์โปรแกรม

20/6=3
20%6=2
20/6=3.333333
20/6=3.33 

 

 

อ่านทั้งหมด: 3756, ความเห็นทั้งหมด: 0

ใส่ความเห็น